บุญบั้งไฟไทยอิสานพัฒนา

บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคอีสานของไทยรวมไปถึงลาว โดยมีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ การแห่ขบวนบุญบั้งไฟ ในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลง ที่นำเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่มาผสมผสานกับวีถีชีวิต มีลักษณะที่โดดเด่นทางด้านพลวัฒน์ทางสังคมที่ปรากฏเห็นชัดเจนในการแห่ขบวนบุญบั้งไฟของคนในปี พ.ศ. 2519 พ.ศ.2530และ พ.ศ.2540 ที่มีวิวัฒนาการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจน


การแต่งกายในการเซิ้งบั้งไฟในยุค พ.ศ. 2519 เป็นการแต่งกายจากเสื้อผ้าที่เป็นผ้าพื้นเมืองในท้องถิ่น



จะเห็นได้ว่ามีกาดจัดตกแต่งอย่างเรียบง่าย ดังเช่นรถบั้งไฟ มีความสนุกสนานในการถ่ายทอดไม่มีแบบแผนชัดเจน




พ.ศ.2530 บทบาทของแบบแผ่นนาฎศิลป์เข้ามามีอิทธิพลต่อการร่ายรำและการจัดการแต่งกายที่มีสีสันมากขึ้นมีการจัดการรูปแบบขบวนอย่างเป็นระบบดังเช่นการแต่งกายให้เหมือนกัน ใส่เสื้อสีเดียวกัน


พ.ศ.2540มีวัฒนาการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจน กระเทย หรือเพศที่สามเริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการแสดงอย่างชัดเจน ในยุคนี้งานโชจึงมีความฟูฟ่าอลังการ เป็นงานในรุปแบบสร้างสรรค์

แต่ละช่วงในแต่ละสมัยมีการเปลี่ยนแปลงและผสมผสานซอดแทรกระบบของสังคมอิสานได้อย่างชัดเจน














ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้