สะไนเสียงกังวานจากเขาควาย สะไน ถือว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม โดยทั่วไปแล้วหมายถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ลมเป่าออกจากร่างกายหรือดูดลมเข้าเพื่อให้เกิดเสียง หรืออีกความหมายหนึ่งคือ เครื่องดนตรีที่เสียงเกิดจากหลักการที่ว่า อากาศถูกเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสั่นสะเทือนผิดจากสภาพปกติธรรมดา ในทางมานุษยวิทยาการดนตรีนั้น จะศึกษาเสียงอันเกิดจากความตั้งใจของมนุษย์หรือความต้องการของเสียงเป็นที่ตั้ง แม้ว่าเสียงนั้นจะไม่มีทำนอง แต่เป็นเสียงที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นหรือตั้งใจเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม หรือตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ และเป็นเสียงที่เข้าใจโดยสัญชาตญาณ ตามหลักความเชื่อของชาวเยอในพื้นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอราศีไศล สะไน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม หรือกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้น เช่น พิธีกรรมบวงสรวงศาลพญากะตะศิลา การแข่งขันเรือและเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ (หอยสังข์) ไม่นิยมนำมาเป่าเล่นเพื่อผ่อนคลายหรือความบันเทิงใดๆ สะไนเป็นของศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญมาก สะไนเครื่องเป่าที่สืบเชื้อสายมาจากสังข์ (ในภาษาเยอเรียกซั้ง ปลงซั้งแปลว่า เป่าสังข์) ลิ้นของสะไนทำมาจากไม้ไผ่ใ...
โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้
ฟ้อนกลองตุ้ม ฟ้อนกลองตุ้ม หรือฟ้อนส่วยมือ เป็นการฟ้อนรำที่เก่าแก่และโบราณ ของชาวอีสาน ในอดีตนิยมฟ้อนด้วยผู้ชายทั้งหมด เป็นการฟ้อนรำประกอบจังหวะกลองตุ้ม ใช้ประกอบขบวนในการแห่บั้งไฟ การฟ้อนกลองตุ้ม มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน - แบบที่หนึ่ง คือ การฟ้อนเป็นจังหวะในรูปแบบการฟ้อนแห่เป็นขบวน - แบบที่สอง คือการฟ้อนประกอบทำนองกาพย์เซิ้ง เพื่อขอเหล้าหรือปัจจัยไทยทาน เมื่อพิจารณาที่มาของการฟ้อนกลองตุ้มในแบบที่สอง จะเห็นได้ว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับประเพณีบุญบั้งไฟ เพราะมีทำนองเป็นเช่นเดียวกันกับทำนองเซิ้งบั้งไฟ แต่มีช่วงจังหวะที่ช้าเนิบนาบกว่ า เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงมีเพียง 3 ชิ้น ได้แก่ กลองตุ้ม ผางฮาด และสไน อาจจะมีฉิ่งและฉาบร่วมประกอบจังหวะด้วย อุปกรณ์ในการแสดง - ส่วยมือ เป็นอุปกรณ์ในการสวมนิ้วมือทั้งสิบ ทำมาจากหวายหรือไม้ไผ่ก้านยาว ปลายด้านหนึ่งสานให้เป็นกรวย เพื่อสวมเข้ากับนิ้ว ตัวก้านมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วพันด้วยด้ายสีต่างๆ ที่ปลายสุดของไม้มีพู่สีขาว นิยมพันด้ายให้เหมือนกับสีของธง...
บุญบั้งไฟไทยอิสานพัฒนา บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของ ภาคอีสาน ของ ไทย รวมไปถึง ลาว โดยมีตำนานมาจาก นิทานพื้นบ้าน ของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ การแห่ขบวนบุญบั้งไฟ ในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลง ที่นำเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่มาผสมผสานกับวีถีชีวิต มีลักษณะที่โดดเด่นทางด้านพลวัฒน์ทางสังคมที่ปรากฏเห็นชัดเจนในการแห่ขบวนบุญบั้งไฟของคนในปี พ.ศ. 2519 พ.ศ.2530และ พ.ศ.2540 ที่มีวิวัฒนาการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจน การแต่งกายในการเซิ้งบั้งไฟในยุค พ.ศ. 2519 เป็นการแต่งกายจากเสื้อผ้าที่เป็นผ้าพื้นเมืองในท้องถิ่น จะเห็นได้ว่ามีกาดจัดตกแต่งอย่างเรียบง่าย ดังเช่นรถบั้งไฟ มีความสนุกสนานในการถ่ายทอดไม่มีแบบแผนชัดเ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น