ข้าวโพด


ป้องกันโลหิตจาง

          แม้ข้าวโพดในปริมาณ 100 กรัม จะมีธาตุเหล็กอยู่ราว ๆ 0.52 มิลลิกรัม แต่นั่นก็นับว่าข้าวโพดเป็นธัญพืชอีกชนิดที่มีธาตุเหล็กที่สำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดอยู่พอสมควรเลยทีเดียว ดังนั้นหากไม่อยากเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางหรือสาว ๆ ช่วงมีประจำเดือนก็จัดข้าวโพดเป็นอาหารว่างบ้างก็ดีนะคะ ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์
          ข้าวโพดมีไทอะมีน (วิตามินบี 1) อยู่ค่อนข้างสูง ซึ่งการที่ร่างกายเราได้รับไทอะมีนเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ลงได้ เพราะไทอะมีนมีส่วนสำคัญต่อความจำ โดยเป็นสารประกอบสำคัญต่อเอนไซม์ที่มีผลต่อการเสริมสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยกระตุ้นเซลล์ประสาทด้านการเรียนรู้และจดจำ อีกทั้งไทอะมีนยังเป็นสารที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์สารสื่อประสาทในสมอง กระตุ้นให้สารสื่อประสาทในสมองผลิตได้เป็นปกติ จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงวัยที่สารสื่อประสาทจะถูกผลิตลดน้อยลง ลดคอเลสเตอรอล
          วารสารชีวเคมีทางโภชนาการ (Journal of Nutritional Biochemistry) ระบุว่า น้ำมันข้าวโพดช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ในร่างกายได้ เนื่องจากน้ำมันข้าวโพดมีฤทธิ์ต้านการสะสมของไขมันในเส้นเลือด ซึ่งส่งผลดีต่อระดับคอเลสเตอรอล โดยช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลเข้าสู่ร่างกายได้ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาอื่นพบว่า ข้าวโพดหวานก็สามารถควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายให้เป็นไปอย่างปกติด้วยสารอาหารอย่างวิตามินซี แคโรทีนอยด์ และฟลาโวนอยด์ด้วยนะคะ ควบคุมเบาหวานและความดัน
          มีการศึกษาพบว่า การทานข้าวโพดช่วยให้อาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (ชนิดที่ 2) ดีขึ้น และช่วยควบคุมความดันโลหิต เพราะในข้าวโพดมีสารฟีนอลิก ซึ่งจะไปควบคุมกระบวนการดูดซึมอินซูลินและขับออกจากร่างกาย ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ อีกทั้งข้าวโพดยังมีแพนโทเทนิก ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ทำให้ต่อมหมวกไตทำงานได้อย่างปกติ ส่งผลดีต่อการหลั่งฮอร์โมนในร่างกายให้มีความสมดุล จึงช่วยป้องกันภาวะเครียดได้ด้วย



ข้าวโพด

ข้าวโพด

ข้าวโพด



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้