ผ้าขิดมรดกภูมิปัญญาชาวอิสาน
ผ้าไหมลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน  บางส่วนจะพบทางภาคเหนือและภาคกลาง  นับว่าเป็นศิลปะในการคิดสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนให้เห็นภาพ  ลักษณะ  ลวดลายและวิวัฒนาการของชุมชนหรือท้องถิ่นของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวบ้านในชุมชนหรือท้องถิ่นถือว่าในกระบวนการทอผ้าทั้งหลาย การทอผ้าลายขิดจะต้องอาศัยความชำนาญและต้องมีชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่น  เพราะทอได้ยากมาก  มีเทคนิกการทอที่ซับซ้อนกว่าการทอผ้าแบบธรรมดา  เพราะต้องใช้เวลานานและความอดทนสูง  ประกอบกับมีความละเอียด  ลออมาก  มีกรรมวิธีทำได้ยาก


ผ้าขิดลายกาบจากบ้านโนนสัง อ.กันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นผ้าที่มีความงดงามอย่างหนึ่งของอิสานใต้
ซึ้งมีความสำคัญในการใช้ในพิธีกรรม การใช้ตกแต่งร่างกายให้นาคในเวลาบวช

ผ้าตุ้มขิด บ้านธาตุน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เป็นผ้าที่มีการทอให้มีขนาดความยาวและความกว้างมากเพื่อใช้เป็นผ้าห่มป้องกันความหนาว ในอดีตผ้าชนิดนี้จึงมีความสำคัญมาก
ผ้าไหมลายขิด  เดิมชาวบ้านในชุมชนหรือท้องถิ่นเรียกว่า “ผ้าเหยียบหรือผ้าเก็บ” ที่ชาวบ้านเรียกกันเช่นนี้เพราะ ว่าลายที่ปรากฎบนผืนผ้านั้นเกิดจากการเหยียบไม้และเก็บเอาลายตามที่ต้องการบนผืนผ้า   ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในสมัยก่อน โดยเริ่มมาจากการที่ผู้ชายในสมัยก่อนนำเอาไม้มาสานเป็นฝา  เรียกว่า สานฝากระแตะ

ในสมัยปัจจุบันชาวบ้านในชุมชนหรือท้องถิ่นได้เปลี่ยนจากการผลิตเสื้อผ้าจากการใช้วัตถุดิบจากฝ้าย และหัน
มาเลี้ยงตัวไหมทดแทนการปลูกฝ้ายในแต่ละครอบครัวเพิ่มมากขึ้น  แล้วนำเอาฝักไหมมาผ่านกรรมวิธีที่ทำให้ได้เส้นไหม จากนั้นจึงนำไปทอเป็นผืนผ้าแล้วนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อ
       ในการผลิตผ้าไหมลายขิดในสมัยปัจจุบัน  สามารถผลิตด้วยสีที่แตกต่างกันตามความต้องการของผู้ใช้ บางครั้ง
ผู้ผลิตอาจนำไปย้อมด้วยสีธรรมชาติ “ย้อมด้วยผลมะเกลือ”  ก็ได้ แต่ผ้าที่ทอต้องเป็นสีขาวและสีเหลือง
คุณยายผู้มีความรู้ในชุมชนเล่าให้ฟังว่า การทอผ้าลายขิดได้เรียนรู้และมีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษของคุณ
ยายเอง สมัยก่อนมีจุดมุ่งหมายในการทอเพื่อใช้เอง ซึ่งการทอเป็นจะแบบง่ายๆ ตัวฟืมที่ใช้ก็ทำขึ้นมาเองจากไม้
ทั้งหมด  เส้นฝ้ายหรือเส้นไหมที่นำมาทอก็มีขนาดใหญ่ เพราะเป็นวัตถุดิบที่มีในชุมชนหรือท้องถิ่น



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้