สะเองวัฒนธรรมการถือผีของชาวส่วย
รำสะเองเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวศรีสะเกษทีมีเชื้อสายกวย (ส่วยและเยอ) มาจากความเชื่อในการ   
พึ่งพาสิ่งลี้ลับของธรรมชาติในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะวิญญาณของบรรพบุรุษเทวดาที่อยู่บนฟ้าเพื่อขอพร 
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษมาปกปักรักษา ผ่านร่างทรงของแม่สะเองหรือการแก้บนที่ทำไว้เมื่อยาม 

เจ็บไข้ได้ป่วย หรือเมื่อมีเหตุสำคัญ  ที่ต้องอาศัยกำลังใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวกวย
จะมีเชื้อสะเองแฝงอยู่ในร่างกาย และยกให้เป็นมรดกตกทอด ซึ่งมีตกแก่ลูกสาว
คนโตของครอบครัวไปเป็นทอดๆ การรำสะเองมักกระทำในเดือนสาม เพราะพืชผล
ในไร่นาเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว   เจ้าภาพที่จัดงานเตรียมพร้อม   โดยการบอก
เหล่าญาติพี่น้องทั้งใกล้และไกลมารวมกัน ตามวันที่กำหนด จัดทำปะรำพิธี ชั้นวางเครื่องเซ่นไหว้ เก็บดอก จำปา (ลั่นทม) มาร้อยมาลัย ถ้าไม่มี



พิธีเล่นสะเองเริ่มจากเจ้าภาพนำดอกจำปาหรือดอกจานคู่หนึ่งใส่พาน  หรือขัน  ไปเชิญแม่สะเองที่เป็นแม่ทรง  แม่สะเองบริวารของแม่ทรง 5 - 9  คน และมือฆ้องอีก 1 คน มือกลอง 1-3 คน บางแห่งอาจมีแคน  ฉิ่ง  ฉาบด้วย   การรำจะเริ่ม โดยแม่ครูบนบาน  บอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางไม่ให้มีอุปสรรคขัดขวาง ในการพิธีการรำจะเริ่มโดยแม่ครูบนบานบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทาง  ไม่ให้มีอุปสรรคขัดขวางในการทำพิธี การทำพิธีนั้น
จะอัญเชิญแถนให้เข้ามาสู่ร่างกาย 
และมาสู่แม่ฟ้อน (นางรำ)   คนอื่นๆ  โดยแม่สะเองถือขันภายในมีข้าวสาร  เงิน  เทียนเหลืองห่อหนึ่งและจุดเทียนขาวคู่หนึ่ง เมื่อผีเข้าทรง ร่างแม่ทรงก็สั่นทั้งตัว มือที่ถือขันสั่นกระตุก จนเทียนดับ ขันหลุดมือ  ข้าวสารหกกระจาย  ขณะที่กลอง  ฆ้อง ก็เริ่มบรรเลง เมื่อเข้าทรงเสร็จแล้วก็รำพร้อมกันไปตามจังหวะและมีแม่ครูเป็นคนร้องนำ   แล้วคนอื่นๆ   ก็จะร้องตามรำเอนอ้อม   ปะรำพิธี
รำไปจนกว่าแถนจะออกจึงเลิกรำกันไปเอง  


มีการพักเพื่อรับประทานอาหารว่างระหว่างการรำสะเองด้วย  เมื่อฟ้อนรำไปได้ระยะหนึ่ง บรรดาแม่สะเองก็ใช้ด้ายที่แขวนบนชั้น  มาทัดหูและนำมาลัยดอกจำปาหรือมาลัยดอกนานมาสวม ลงบนศรีสะเกษ  มือกลอง  มือฆ้องก็สวมมาลัยดอกไม้
เช่นเดียวกัน  จากนั้นก็ฟ้อนแสดงการละแล่นต่าง ๆ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้