บทความ

รูปภาพ
ฟ้อนกลองตุ้ม ฟ้อนกลองตุ้ม หรือฟ้อนส่วยมือ  เป็นการฟ้อนรำที่เก่าแก่และโบราณ ของชาวอีสาน ในอดีตนิยมฟ้อนด้วยผู้ชายทั้งหมด เป็นการฟ้อนรำประกอบจังหวะกลองตุ้ม ใช้ประกอบขบวนในการแห่บั้งไฟ   การฟ้อนกลองตุ้ม มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน   - แบบที่หนึ่ง คือ การฟ้อนเป็นจังหวะในรูปแบบการฟ้อนแห่เป็นขบวน    - แบบที่สอง คือการฟ้อนประกอบทำนองกาพย์เซิ้ง เพื่อขอเหล้าหรือปัจจัยไทยทาน  เมื่อพิจารณาที่มาของการฟ้อนกลองตุ้มในแบบที่สอง จะเห็นได้ว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับประเพณีบุญบั้งไฟ เพราะมีทำนองเป็นเช่นเดียวกันกับทำนองเซิ้งบั้งไฟ แต่มีช่วงจังหวะที่ช้าเนิบนาบกว่ า เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงมีเพียง 3 ชิ้น ได้แก่ กลองตุ้ม ผางฮาด และสไน อาจจะมีฉิ่งและฉาบร่วมประกอบจังหวะด้วย อุปกรณ์ในการแสดง - ส่วยมือ เป็นอุปกรณ์ในการสวมนิ้วมือทั้งสิบ ทำมาจากหวายหรือไม้ไผ่ก้านยาว ปลายด้านหนึ่งสานให้เป็นกรวย เพื่อสวมเข้ากับนิ้ว ตัวก้านมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วพันด้วยด้ายสีต่างๆ ที่ปลายสุดของไม้มีพู่สีขาว นิยมพันด้ายให้เหมือนกับสีของธง...
รูปภาพ
สะเองวัฒนธรรมการถือผีของชาวส่วย รำสะเองเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวศรีสะเกษทีมีเชื้อสายกวย (ส่วยและเยอ)  มาจากความเชื่อในการ    พึ่งพาสิ่งลี้ลับของธรรมชาติในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะ วิญญาณของบรรพบุรุษเทวดาที่อยู่บนฟ้าเพื่อขอพร  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ดวงวิญญาณ บรรพบุรุษมาปกปักรักษา ผ่านร่างทรงของแม่สะเองหรือการแก้บนที่ทำไว้เมื่อยาม  เจ็บไข้ได้ป่วย หรือเมื่อมีเหตุสำคัญ  ที่ต้อง อาศัยกำลังใจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชาวกวย จะมีเชื้อสะเองแฝงอยู่ในร่างกาย และยกให้เป็นมรดกตกทอด ซึ่งมีตกแก่ลูกสาว คนโตของครอบครัวไปเป็นทอดๆ การรำสะเองมักกระทำในเดือนสาม เพราะพืชผล ในไร่นาเก็บเกี่ยวเรียบร้อยแล้ว   เจ้าภาพที่จัดงานเตรียมพร้อม   โดยการบอก เหล่าญาติพี่น้องทั้งใกล้และไกลมารวมกัน ตามวันที่กำหนด จัดทำปะรำพิธี ชั้นวางเครื่องเซ่นไหว้ เก็บดอก จำปา (ลั่นทม) มาร้อยมาลัย ถ้าไม่มี พิธีเล่นสะเองเริ่มจากเจ้าภาพนำดอกจำปาหรือดอกจานคู่หนึ่งใส่พาน  หรือขัน  ไปเชิญแม่สะเองที่เป็นแม่ทรง  แม่สะเองบริวารของแม่ทรง...
รูปภาพ
กวยอาเจียง   หมู่บ้าน ช้าง บ้านตากลาง  เป็นสถานที่นัก ท่องเที่ยว สามารถเดินชมวิถีความเป็นอยู่ ความผูกพัน ของคนในชุมชนและช้าง รวมทั้งประเพณี และวัฒนธรรมที่น่าชื่นชมอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านตากลาง แต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้น ระหว่างคนกับช้าง ณ  บ้านตากลาง จ.  สุรินทร์   ได้ชื่อว่าเป็นหมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก ชาวบ้านตากลาง  ดั้งเดิมเป็น  ชาวส่วย  (กูย) หรือ  กวย  ที่ มีความชำนาญในการคล้องช้างป่า ฝึกหัดช้าง และเลี้ยงช้าง  ส่วนมากต้องเดินทางไปคล้องช้างบริเวณชายแดนต่อเขตประเทศ กัมพูชา ประชาธิปไตย ปัจจุบันสภาวะการเมืองระหว่างประเทศทำให้ชาวบ้านตากลาง ไม่สามารถไปคล้องช้าง เช่นแต่ก่อนได้ แต่ชาวบ้านตากลางยังคงเลี้ยงช้าง และฝึกช้างเพื่อไปร่วมแสดงในงานช้างของจังหวัดทุกปี ชาวกูยนับถือ "ผีปะกำ" เป็นที่เคารพบูชาร่วมกันของคนในตระกูล โดยมีโรงปะกำตั้งอยู่ด้านหน้าของบ้านต้นตระกูล แล้วทำพิธีเซ่นไหว้ผีปะกำประจำ...
รูปภาพ
สะไนเสียงกังวานจากเขาควาย สะไน ถือว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลม โดยทั่วไปแล้วหมายถึงเครื่องดนตรีที่ใช้ลมเป่าออกจากร่างกายหรือดูดลมเข้าเพื่อให้เกิดเสียง หรืออีกความหมายหนึ่งคือ เครื่องดนตรีที่เสียงเกิดจากหลักการที่ว่า อากาศถูกเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดการสั่นสะเทือนผิดจากสภาพปกติธรรมดา ในทางมานุษยวิทยาการดนตรีนั้น จะศึกษาเสียงอันเกิดจากความตั้งใจของมนุษย์หรือความต้องการของเสียงเป็นที่ตั้ง แม้ว่าเสียงนั้นจะไม่มีทำนอง แต่เป็นเสียงที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นหรือตั้งใจเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรม หรือตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ และเป็นเสียงที่เข้าใจโดยสัญชาตญาณ ตามหลักความเชื่อของชาวเยอในพื้นที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอราศีไศล สะไน เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีกรรม หรือกิจกรรมที่สำคัญเท่านั้น เช่น พิธีกรรมบวงสรวงศาลพญากะตะศิลา การแข่งขันเรือและเป็นการเป่าเพื่อบูชาสังข์ (หอยสังข์) ไม่นิยมนำมาเป่าเล่นเพื่อผ่อนคลายหรือความบันเทิงใดๆ สะไนเป็นของศักดิ์สิทธิ์และมีความสำคัญมาก สะไนเครื่องเป่าที่สืบเชื้อสายมาจากสังข์ (ในภาษาเยอเรียกซั้ง ปลงซั้งแปลว่า เป่าสังข์) ลิ้นของสะไนทำมาจากไม้ไผ่ใ...
รูปภาพ
ผ้าไหมย้อมมะเกลือภูมิปัญญาท้องถิ่น อดีตที่ผ่านมา จังหวัดศรีสะเกษ มีชุมชนหลากหลายเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ เผ่าแต่ละเผ่าจะทอผ้าใช้เอง โดยมีชื่อเรียกต่างกันไป และลายผ้าที่นิยมกันมากโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีฐานะดีในสมัยก่อน ที่นิยมใช้กัน คือผ้าลายลูกแก้ว ในชนเผ่าเขมรเรียกผ้าลายนี้ว่า ผ้าเก็บ โดยเรียกลักษณะการเก็บลายดอก ในเผ่าสวยเรียกว่าผ้าเหยียบ โดยเรียกขั้นตอนการย้อมสีกับลูกมะเกลือ ซึ่งเหยียบผสมโคลน ส่วนชนเผ่าลาว เรียกว่า ผ้าลายดอกแก้ว หรือผ้าลายลูกแก้ว เรียกตามลักษณะ ซึ่งเป็นดอกสี่เหลี่ยมจัตุรัส เล็กๆ เรียงกันไป มีจุดดอกตรงกลางสี่เหลี่ยม สมัยก่อนมีการย้อมสีด้วยลูกมะเกลือ เพื่อกันความร้อนและสีดำเป็นสีที่ไม่สกปรกง่ายเหมือนสีขาว ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นหลากหลายสีตามความนิยมของแต่ละคนที่ชอบไม่เหมือนกัน และต่อมาสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดลายผ้าดังกล่าว เป็นลายผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ให้ชื่อว่า ผ้าเก็บหรือผ้าเหยียบ เฉพาะในอำเภอปรางค์กู่ นิยมทอด้วยผ้าไหม หรือทอด้วยไหม เป็นสีสวยเงางามมาก เป็นที่นิยมของคนทั่วไป  แนวคิดการทอผ้า ได้จากไหมเปลือกนอกที่มีขนาดเส้นใ...
รูปภาพ
ผ้าขิดมรดกภูมิปัญญาชาวอิสาน ผ้าไหมลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน  บางส่วนจะพบทางภาคเหนือและภาคกลาง  นับว่าเป็นศิลปะในการคิดสร้างสรรค์ผลงานที่สะท้อนให้เห็นภาพ  ลักษณะ  ลวดลายและวิวัฒนาการของชุมชนหรือท้องถิ่นของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวบ้านในชุมชนหรือท้องถิ่นถือว่าในกระบวนการทอผ้าทั้งหลาย การทอผ้าลายขิดจะต้องอาศัยความชำนาญและต้องมีชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่น  เพราะทอได้ยากมาก  มีเทคนิกการทอที่ซับซ้อนกว่าการทอผ้าแบบธรรมดา  เพราะต้องใช้เวลานานและความอดทนสูง  ประกอบกับมีความละเอียด  ลออมาก  มีกรรมวิธีทำได้ยาก ผ้าขิดลายกาบจากบ้านโนนสัง อ.กันทรารมณ์ จ.ศรีสะเกษ เป็นผ้าที่มีความงดงามอย่างหนึ่งของอิสานใต้ ซึ้งมีความสำคัญในการใช้ในพิธีกรรม การใช้ตกแต่งร่างกายให้นาคในเวลาบวช ผ้าตุ้มขิด บ้านธาตุน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เป็นผ้าที่มีการทอให้มีขนาดความยาวและความกว้างมากเพื่อใช้เป็นผ้าห่มป้องกันความหนาว ในอดีตผ้าชนิดนี้จึงมีความสำคัญมาก ผ้าไหมลายขิด  เดิมชาวบ้านในชุมชนหรือท้องถิ่นเรียกว่า “ผ้าเหยียบห...
รูปภาพ
บุญบั้งไฟไทยอิสานพัฒนา บุญบั้งไฟ  เป็นประเพณีหนึ่งของ ภาคอีสาน ของ ไทย รวมไปถึง ลาว  โดยมีตำนานมาจาก นิทานพื้นบ้าน ของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้  การแห่ขบวนบุญบั้งไฟ ในยุคสมัยการเปลี่ยนแปลง ที่นำเอาวัฒนธรรมสมัยใหม่มาผสมผสานกับวีถีชีวิต มีลักษณะที่โดดเด่นทางด้านพลวัฒน์ทางสังคมที่ปรากฏเห็นชัดเจนในการแห่ขบวนบุญบั้งไฟของคนในปี พ.ศ. 2519 พ.ศ.2530และ พ.ศ.2540 ที่มีวิวัฒนาการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นได้ชัดเจน การแต่งกายในการเซิ้งบั้งไฟในยุค พ.ศ. 2519 เป็นการแต่งกายจากเสื้อผ้าที่เป็นผ้าพื้นเมืองในท้องถิ่น จะเห็นได้ว่ามีกาดจัดตกแต่งอย่างเรียบง่าย ดังเช่นรถบั้งไฟ มีความสนุกสนานในการถ่ายทอดไม่มีแบบแผนชัดเ...